แมวไทย

แมวไทย



แมวไทย คือแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ อุปนิสัย แมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนืออื่นใด คือ รักความอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่ จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนตามที่ใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น สีสันตามตัวของแมวไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณีหรือขาวปลอด นิลรัตน์หรือดำปลอด ศุภลักษณ์หรือ ทองแดง สีสวาดหรือแมวไทยพันธุ์โคราช ต่างล้วนได้รับความสนใจ จากเจ้าของและผู้สนใจทั้งสิ้น .... 
เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อ โอเวน กูลด์ แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษนิยมเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น ในที่สุดก็แพร่หลายไปทั่วโลก และแมววิเชียรมาศก็เป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า "Siamese Cat" หรือ แมวสยาม
ในสหรัฐอเมริกา แมวไทยตัวแรกเป็นแมวของ ลูซี่ เว็บบ์ ภรรยาของ รัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ ประธานาธิบดีคนที่ 29 ของสหรัฐอเมริกา
สำหรับในประเทศไทย คนไทยที่เป็นที่รับรู้ดีว่าชอบเลี้ยงแมวไทย อาทิ เช่น นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายพิชัย วาสนาส่ง อดีตผู้เชี่ยวชาญเรื่องการต่างประเทศ และ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เป็นต้น
ปัจจุบัน ยีนของแมวไทยได้กระจายไปสู่แมวสายพันธุ์ต่างประเทศทั่วโลกมากถึง 40 สายพันธุ์ด้วยกัน

ชนิดของแมวไทย

แมวไทย (วิฬาร) ที่ยังเหลือให้พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 6 ชนิดคือ 
วิเชียรมาศ สีสวาด ศุภลักษณ์ โกญจา ขาวมณี และแซมเสวตร 
แต่แท้จริงแล้วในสมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยว่ามีทั้งหมด 23 สายพันธุ์ 
แบ่งออกเป็นแมวให้คุณ 17 ชนิด และ แมวร้ายให้โทษอีก 6 ชนิด

แมวให้คุณ 17 ชนิด

  1. วิเชียรมาศ เมื่อแรกเกิดมีขนสีขาวหมด พอโตขึ้นจะมีสีเปลี่ยนเป็นสีครีมอ่อน ๆ แต่ที่หน้า หาง เท้าทั้งสี่หูทั้งสองข้าง และที่อวัยวะเพศอีก 1 แห่งรวมเก้าแห่งมีสีน้ำตาล (สีเข้ม) มีนัยน์ตาประกายสีฟ้าสดใส เลี้ยงไว้มีคุณค่ายิ่งลำนักหนา จักนำโภคาพิพัฒน์สมบัติเพิ่มพูล
  2. ศุภลักษณ์ หรือ ทองแดง สีขนเป็นสีทองแดงตลอดตัว มีนัยน์ตาเป็นประกาย ใครเลี้ยงจักได้ยศถา ยิ่งพ้นพรรณนาเป็นอำมาตย์มนตรี
  3. มาเลศ หรือ แมวโคราช หรือ สีสวาด มีขนสีดอกเลาเปรียบเสมือนกับเมฆสีเทายามฟ้ายับฝน มีนัยน์ตาหยาดเยิ้มประหนึ่งนำค้างย้ยต้องกลีบบัว ใครพบเร่งให้อุปถัมภ์ แมวนั้นจักนำมาซึ่งสุขสวัสดิ์มงคล
  4. โกนจา หรือ ดำปลอด มีสีดำละเอียด นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม หางเรียวยาว ท่าทางการเดินสง่าเหมือนสิงโต แมวนี้เลี้ยงดีมีคุณหนักหนา จงเร่งหามาเลี้ยงเทอญอย่าแคลงสงสัย
  5. นิลรัตน์ สีดำทั้งตัว รวมถึงเล็บ ลิ้น ฟัน ดวงตา และกระดูก หางยาวตวัดได้จนถึงหัว เลี้ยงไว้แล้วเชื่อว่าจะมีความเจริญ มีทรัพย์ ปราศจากอันตราย
  6. วิลาศ มีลำตัวสีดำจากคอไปตลอดท้อง จากสองหูไปจนถึงหางและขาทั้งสี่มีสีขาว ตาสีเขียว เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะได้เป็นเจ้าคนนายคน มีเงินทองมากมาย
  7. เก้าแต้ม มีสีขาวเป็นพื้น มีแต้มสีดำเก้าจุดที่คอ หัว ต้นขาหน้าและหลังทั้งสองข้างและที่ท้ายลำตัว เชื่อว่าเลี้ยงไว้แล้วจะรุ่งเรืองทางการค้าขาย
  8. รัตนกำพล ตัวขาวเหมือนหอยสังข์ แต่รอบตัวตรงส่วนอกมีลักษณะคล้ายสายคาดสีดำ ตาสีเหลือง เชื่อว่าเลี้ยงแล้วจะมียศ ผู้อื่นยำเกรง
  9. นิลจักร มีลำตัวดำสนิท ที่คอมีขนสีขาวอยู่รอบเหมือนกับปลอกคอ เชื่อว่าเลี้ยงแล้วจะมีทรัพย์มาก
  10. มุลิลา ลำตัวดำ หูสองข้างมีสีขาว ตามีสีเหลืองเหมือนดอกเบญจมาศ เชื่อว่าแมวชนิดนี้เหมาะกับนักบวชเลี้ยงเพราะช่วยให้มีการเล่าเรียนดีสมปรารถนา
  11. กรอบแว่น หรือ อานม้า มีปานลักษณะอานม้าบนหลัง เชื่อว่าแมวชนิดนี้มีราคาสูงถึงแสนตำลึงทองคำ และให้เกียรติยศแก่เจ้าของ
  12. ปัดเสวตร หรือ ปัดตลอด ตัวมีสีดำเป็นพื้น ตั้งแต่จมูกไปตามแนวสันหลังถึงปลายหางมีสีขาว ตาเหลืองคล้ายกับพลอย หากเลี้ยงไว้จะมีความเจริญมากกว่าคนในสกุลเดียวกันและได้ลาภยศ
  13. กระจอก ไม่กระจอกเหมือนชื่อ ลำตัวกลมมีสีดำ รอบปากมีสีขาว ตาสีเหลือง เลี้ยงแล้วเชื่อกันว่าจะได้ที่ดินเงินทอง ไพร่ก็จะได้เป็นเจ้านายคน
  14. สิงหเสพย์ หรือ โสงหเสพย์ ลำตัวมีสีดำ ที่ปาก รอบคอ จมูกมีสีขาว ตาสีเหลือง ท่าทางเดินสง่าเหมือนสิงโต เลี้ยงแล้วมีสิริมงคล
  15. การเวก ลำตัวสีดำ จมูกสีขาว ตาเป็นประกายสีทอง เชื่อกันว่าภายใน 7 เดือนที่ได้มาเลี้ยงจะได้ยศศักดิ์และลาภจำนวนมาก
  16. จตุบท ตัวสีดำ เท้าทั้งสี่มีสีขาว ตาสีเหลืองเหมือนดอกโสน เชื่อว่าให้คุณกับคนเลี้ยง แต่ไม่เหมาะกับคนทั่วไป สมควรเลี้ยงแก่บุคคลชั้นสูงหรือราชินิกูลเท่านั้น
  17. แซมเสวตร มีขนสีดำแซมขาว มีขนบางและสั้น รูปร่างเพรียว มีนัยน์ตาดั่งหิ่งห้อย เลี้ยงดีมีคุณหนักหนา จงเร่งหามาเลี้ยงเทอญอย่าแคลงสงสัย


แมวร้ายให้โทษ 6 ชนิด

  1. ทุพลเพศ มีขนสีขาว ดวงตาสีแดงดั่งโลหิตทาตาไว้ มีนิสัยไม่ดีชอบลักขโมยปลาไปกินทุกคำคืน ใครเลี้ยงไว้จะให้โทษไม่เป็นสุขเกิดความเดือดร้อนแรงผลาญ
  2. พรรณพยัคฆ์ หรือ ลายเสือ มีขนลายเหมือนเสือ ลักษณะขนเหมือนชุบด้วยเกลือกับแกลบ มีนัยน์ตาสีแดงเจือสีเปือกตม มีเสียงร้องเหมือนเสียงผีโป่งร้องอยู่ตามป่าเขา ถือว่าเป็นแมวให้โทษอีกชนิดหนึ่ง
  3. ปีศาจ เป็นแมวที่กินลูกตัวเอง ออกลูกมากี่ตัวกินหมด ลักษณะขนสาก ตัวผอม หนังยาน โบราณจัดเป็นแมวร้ายอย่านำมาเลี้ยงไว้
  4. หิณโทษ เป็นแมวนำมาซึ่งสิ่งเลวร้าย นำภัยพิบัติมาสู่บ้าน ใครเลี้ยงไว้จะไม่เป็นมงคล ออกลูกมามักจะมีลูกตายอยู่ในท้อง
  5. กอบเพลิง เป็นแมวที่ลึกลับชอบซ่อนตัวหลบหลีกผู้คน พอมันเห็นคนมันจะเดินหรือรีบวิ่งหนี ใครเลี้ยงไว้จะมีโทษถึงตัว
  6. เหน็บเสนียด มีลักษณะเหมือนค่าง ชอบเอาหางขดซ่อนไว้ใต้ก้นเสมอ มีรูปร่างพิกลพิการ อย่าเลี้ยงไว้ในบ้านจะทำให้เสียชื่อเสียงและเกียรติยศ

ขาวมณี

ส่วน ขาวมณี หรือ ขาวปลอด นั้นถึงแม้ไม่มีปรากฏในตำราแมวไทย เพราะเชื่อว่าเพิ่งถือกำเนิดในต้นยุครัตนโกสินทร์นี่เอง แต่ก็จัดว่าเป็นแมวไทยมงคลด้วยเหมือนกัน

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Thai cat


The Thai cat (Thaiวิเชียรมาศ,  [wí.tɕʰīan.mâːt]rtgswichianmat, meaning 'moon diamond') is a newly renamed but old cat breed, related to but distinct from the Western, modern Siamese cat. This natural breedis descended from the landrace of wichianmat cats of Thailand, and as a standardised breed has also been variously called the Old-styleOld-typeTraditional, or Classic Siamese; the Whichian Mat (anglicised from the Thai name); and the Applehead, a nickname that originated as a pejorative used by breeders of the modern-style Siamese. According to The International Cat Association: "The Thai is the breed dedicated to preserving the native pointed cat of Thailand in as close to its original form as possible."[1]
The Thai breed (and native wichianmat specimens) have a much more customary cat appearance, with rounder eyes, face and body, and normal-sized ears, compared to the "new-style" Siamese breed, which is remarkably almond-eyed, thin-faced, thin-bodied, and large-eared, having little in common with the traditional variety other than point colouration.

Cats that were imported from Siam (today, Thailand) to Western countries in the 19th and early 20th century were broader in features than the modern Western Siamese. While the Thai, known in Thailand as the whichianmat (among other, non-standardised spellings, e.g. wichien-maat), has common ancestry with the Western Siamese, generations of separate breeding led to the development of two distinct breeds, which began to bifurcate in the 1950s, with more extreme features dominating the cat show circuit, and thus becoming the dominant variety of Siamese in the West.[1] Starting in the 1980s, various breed clubs in both North America and Europe appeared that were dedicated to preserving the type that represents the early 20th-century Siamese, comparable to those still found in Thailand catteries, and which were shown again beginning in 1993 in Europe. The World Cat Federation (WCF) recognised the old-style as separate breed, Thai, with full championship competitive status, in 1990.[1] The rename was not universally accepted; in 2000, the independent Old-Style Siamese Club (OSSC) formed in the UK to preserve and promote the breed as such.
New wichianmat foundation stock were imported directly from Thailand in 2001 to refresh the gene pool of the Western, pedigreed Siamese/Thai breeding programmes and ensure that the traits of the indigenous Southeast Asian cats are preserved and distinct in these bloodlines.
The International Cat Association (TICA) approved the Thai, under that name, as a separate breed in 2007, in the organisation's "Preliminary New Breed" category ("new" because the introduction of the imported cats with no TICA pedigrees technically constituted an outcross under registry rules). TICA promoted the Thai to "Advanced New Breed" in 2009. WCF (mostly European) and TICA (mostly North American) breeders can today share breeding stock, and show their cats under a consistent breed standard.[1] Since May 2010, the Thai has Championship status in TICA, enabling it to compete for top honours along with the other breeds of pedigreed cats. In 2004, Feline Federation Europe (FFE) published Thai breed standard. In 2015, Fédération Internationale Féline(FIFe) accepted the Thai in its "Preliminary Recognised Breeds" class.
Long-before its re-branding as the Thai, the original Siamese breed was part of the foundation stock of some crossbreeds, such as the Himalyan, though the modern Siamese, or intermediate specimens, were used more frequently for this purpose (e.g. in the development of the Cornish RexSphynx, and Peterbald, which share the elongated features of the Western Siamese).

The Thai cat and the Western, modern Siamese cat share a commonality of distant relatives, the point colouration gene, and the outgoing, people-loving, vocal personality made famous in the West by the early Siamese imports – but they have distinct shapes of body, head, and facial features.
The primary features of the Thai are that it is a point-coloured ("pointed") cat of foreign body type (more elongated than the average Western domestic cat, but less so than the modern Western Siamese or Oriental, which are classified as oriental type); has a modified wedge shaped head, a profile with a long flat forehead and no sharp nose break or stop; has a short, flat-lying single coat and does not carry the longhair gene; has a registered pedigree dating back to the early Siamese with no Western domestic short hair ancestors or import documentation from Thailand. The premise of the Thai cat is to help preserve the old look, yet provide a future that focuses on healthy diversified lines and the authenticity and personality of the Old-style Siamese.



ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าป็อปอาย

เมื่อเจ้าป็อปอายมาเที่ยวบ้าน
เริ่มต้นสำรวจ

หาของเล่น





ไม่อยู่นิ่งเลย

Followers